คลื่นโทรทัศน์
คลื่นโทรทัศน์และไมโครเวฟมีความถี่ช่วง 108 - 1012 Hz มีประโยชน์ในการสื่อสาร แต่จะไม่สะท้อนที่ชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ แต่จะทะลุผ่านชั้นบรรยากาศไปนอกโลก ในการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์จะต้องมีสถานีถ่ายทอดเป็นระยะ ๆ เพราะสัญญาณเดินทางเป็นเส้นตรง และผิวโลกมีความโค้ง ดังนั้นสัญญาณจึงไปได้ไกลสุดเพียงประมาณ 80 กิโลเมตรบนผิวโลก อาจใช้ไมโครเวฟนำสัญญาณจากสถานีส่งไปยังดาวเทียม แล้วให้ดาวเทียมนำสัญญาณส่งต่อไปยังสถานีรับที่อยู่ไกล ๆ
เนื่องจากไมโครเวฟจะสะท้อนกับผิวโลหะได้ดี จึงนำไปใช้ประโยชน์ในการตรวจหาตำแหน่งของอากาศยาน เรียกอุปกรณ์ดังกล่าวว่า เรดาร์ โดยส่งสัญญาณไมโครเวฟออกไปกระทบอากาศยาน และรับคลื่นที่สะท้อนกลับจากอากาศยาน ทำให้ทราบระยะห่างระหว่างอากาศยานกับแหล่งส่งสัญญาณไมโครเวฟได้
การแพร่ภาพ (Television Broadcasting) หากจะเอาความหมายของคำว่า Broadcast แล้ว คงจะหมายถึงการส่งสัญญาณออกไปรอบตัว (to sent out in all direction) หลักการเบื้องต้นของการแพร่ภาพโทรทัศน์คือ การส่งกระจายทั้งภาพและเสียงออกไปในรูปสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อให้เครื่องรับสามารถรับได้ทั้งภาพและเสียงอย่างต่อเนื่อง แต่จริง ๆ แล้วภาพที่ต่อเนื่องได้นั้นมาจากการส่งภาพนิ่งที่มีความแตกต่างกันเล็กน้อยหลาย ๆ ภาพต่อเนื่องกันในช่วงเวลาสั้น ๆ เหมือนหลักการของภาพยนต์นั่นเอง เราได้หลักการอยู่อย่างหนึ่งว่า หากภาพนิ่งเหล่านั้นถูกนำมาลำดับตั้งแต่ 16 ภาพต่อวินาทีขึ้นไป สายตาของคนเราจะเห็นเป็นภาพต่อเนื่องหรือภาพเคลื่อนที่ได้ เพราะการทำงานของประสาทตามีลักษณะพิเศษที่เรียกว่า Persistence of Vision เป็นความรู้สึกเห็นติดตาชั่วขณะจึงจะจางหายไปจากระบบประสาท
เครื่องส่งโทรทัศน์ต้องประกอบไปด้วย 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือส่วนที่เป็นสัญญาณภาพและส่วนที่เป็นสัญญาณเสียง (Visual and Aural) โดยสัญญาณภาพจะส่งไปในรูปของสัญญาณ เอเอ็ม. และสัญญาณเสียงจะส่งไปในรูปของสัญญาณ เอฟเอ็ม. การแพร่กระจายคลื่นออกไปในรูปของแม่เหล็กไฟฟ้าจากตัวสายอากาศ (Radiating Antenna) โดยทั่วไปหากเป็นสถานีภาคพื้นดินจะครอบคลุมพื้นที่ทางตรงได้ประมาณ 75 ไมล์ หรือ 121 กิโลเมตร
ความถี่โทรทัศน์ช่องต่าง ๆ
ตามมาตรฐานของ FCC กำหนดให้ความถี่โทรทัศน์ทั้งภาพและเสียงมีความกว้างช่องละ 6 เมกะเฮิรตซ์ ในขณะที่มาตรฐาน CCIR กำหนดให้กว้างถึง 7 เมกะเฮิรตซ์ โดยแบ่งย่านความถี่ในช่วง วีเอชเอฟ.เป็นสองแบนด์ คือ แบนด์ด้านต่ำ (Lowband) กับแบนด์ด้านสูง (Highband) เนื่องจากความถี่สูงมาก (Very High Frequency) อยู่ในช่วง 30-300 เมกะเฮิรตซ์ แต่ในย่านความถี่นี้มีการส่งกระจายเสียงของสถานีวิทยุเอฟเอ็ม. ดังนั้น ความถี่แบนด์ต่ำในระบบ FCC จึงบรรจุช่องโทรทัศน์ช่อง 2-6 เอาไว้ ในขณะที่ระบบ CCIR บรรจุช่อง 2-4 เอาไว้ ความถี่แบนด์กลางเป็นของเอฟเอ็ม. และทางด้านแบนด์สูงของ FCC บรรจุช่อง 7-13 ในขณะที่ของ CCIR บรรจุช่อง 5-12 เอาไว้
การผสมสัญญาณโทรทัศน์
สัญญาณโทรทัศน์ประกอบด้วยสัญญาณใหญ่ ๆ 2 สัญญาณคือ สัญญาณภาพและสัญญาณเสียง ดังนั้นระบบการผสมความถี่หรือการมอดูเลชั่น (Modulation System) จึงค่อนข้างยุ่งยากพอสมควร ประการแรกก็คือสัญญาณภาพเป็นสัญญาณที่มีตัวประกอบหลายต่อหลายตัว ส่วนสัญญาณเสียงเป็นสัญญาณธรรมดาที่ไม่มีความยุ่งยากมากนัก โดยสัญญาณภาพจะถูกมอดูเลชั่นในระบบเอเอ็ม. (Amplitude Modulation) ทั้งนี้ในระบบเอเอ็ม. การผสมสัญญาณมิได้ทำให้เกิดการแปรความถี่เป็นความถี่ใหม่ตามสัญญาณความถี่วิทยุแต่อย่างใด สัญญาณภาพเป็นสัญญาณที่มีสัญญาณซิงโครไนซ์, แบลงกิ้ง, อีควอไลซิ่ง ฯลฯ รวมอยู่ด้วย จึงทำให้แบนด์วิดธ์ในการมอดูเลชั่นสูงกว่าที่ควรจะเป็น ในเครื่องรับโทรทัศน์จึงค่อนข้างจะยุ่งยาก เมื่อเข้าสู่วิธีการเกี่ยวกับระบบการแปรสภาพสัญญาณให้เป็นภาพที่หน้าจอ แต่หากเรามอดูเลชั่นในระบบ เอเอ็ม. เราจะพบว่าความยุ่งยากจะลดน้อยลง
เครื่องส่งโทรทัศน์ต้องประกอบไปด้วย 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือส่วนที่เป็นสัญญาณภาพและส่วนที่เป็นสัญญาณเสียง (Visual and Aural) โดยสัญญาณภาพจะส่งไปในรูปของสัญญาณ เอเอ็ม. และสัญญาณเสียงจะส่งไปในรูปของสัญญาณ เอฟเอ็ม. การแพร่กระจายคลื่นออกไปในรูปของแม่เหล็กไฟฟ้าจากตัวสายอากาศ (Radiating Antenna) โดยทั่วไปหากเป็นสถานีภาคพื้นดินจะครอบคลุมพื้นที่ทางตรงได้ประมาณ 75 ไมล์ หรือ 121 กิโลเมตร
ความถี่โทรทัศน์ช่องต่าง ๆ
ตามมาตรฐานของ FCC กำหนดให้ความถี่โทรทัศน์ทั้งภาพและเสียงมีความกว้างช่องละ 6 เมกะเฮิรตซ์ ในขณะที่มาตรฐาน CCIR กำหนดให้กว้างถึง 7 เมกะเฮิรตซ์ โดยแบ่งย่านความถี่ในช่วง วีเอชเอฟ.เป็นสองแบนด์ คือ แบนด์ด้านต่ำ (Lowband) กับแบนด์ด้านสูง (Highband) เนื่องจากความถี่สูงมาก (Very High Frequency) อยู่ในช่วง 30-300 เมกะเฮิรตซ์ แต่ในย่านความถี่นี้มีการส่งกระจายเสียงของสถานีวิทยุเอฟเอ็ม. ดังนั้น ความถี่แบนด์ต่ำในระบบ FCC จึงบรรจุช่องโทรทัศน์ช่อง 2-6 เอาไว้ ในขณะที่ระบบ CCIR บรรจุช่อง 2-4 เอาไว้ ความถี่แบนด์กลางเป็นของเอฟเอ็ม. และทางด้านแบนด์สูงของ FCC บรรจุช่อง 7-13 ในขณะที่ของ CCIR บรรจุช่อง 5-12 เอาไว้
การผสมสัญญาณโทรทัศน์
สัญญาณโทรทัศน์ประกอบด้วยสัญญาณใหญ่ ๆ 2 สัญญาณคือ สัญญาณภาพและสัญญาณเสียง ดังนั้นระบบการผสมความถี่หรือการมอดูเลชั่น (Modulation System) จึงค่อนข้างยุ่งยากพอสมควร ประการแรกก็คือสัญญาณภาพเป็นสัญญาณที่มีตัวประกอบหลายต่อหลายตัว ส่วนสัญญาณเสียงเป็นสัญญาณธรรมดาที่ไม่มีความยุ่งยากมากนัก โดยสัญญาณภาพจะถูกมอดูเลชั่นในระบบเอเอ็ม. (Amplitude Modulation) ทั้งนี้ในระบบเอเอ็ม. การผสมสัญญาณมิได้ทำให้เกิดการแปรความถี่เป็นความถี่ใหม่ตามสัญญาณความถี่วิทยุแต่อย่างใด สัญญาณภาพเป็นสัญญาณที่มีสัญญาณซิงโครไนซ์, แบลงกิ้ง, อีควอไลซิ่ง ฯลฯ รวมอยู่ด้วย จึงทำให้แบนด์วิดธ์ในการมอดูเลชั่นสูงกว่าที่ควรจะเป็น ในเครื่องรับโทรทัศน์จึงค่อนข้างจะยุ่งยาก เมื่อเข้าสู่วิธีการเกี่ยวกับระบบการแปรสภาพสัญญาณให้เป็นภาพที่หน้าจอ แต่หากเรามอดูเลชั่นในระบบ เอเอ็ม. เราจะพบว่าความยุ่งยากจะลดน้อยลง
กล้องโทรทัศน์จะรับเอาสัญญาณภาพในรูปของพลังงานแสงเข้าไปยังตัวของมัน เพื่อเปลี่ยนให้เป็นพลังงานไฟฟ้า หลักการเบื้องต้นของกล้องอยู่ที่ว่า แสงจะผ่านเลนส์เข้าไปกระทบแผ่นโฟโต้อิเล็กตริกเพลท (Photoelectric Plate) ของหลอดถ่ายภาพ ซึ่งหลอดนี้จะทำการสแกนหรือกวาดรับสัญญาณในแนวนอน (Horizontal Line) โดยการบังคับตัวอิเล็กตรอนบีม (Electron Beam) ให้กวาดจากซ้ายไปขวาและบนลงล่าง โดยภาพหนึ่งเฟรมจะใช้เวลา 1/25 หรือ 1/30 วินาที รวมการสแกนทั้งหมดด้วยเส้นสแกน 625 เส้น หรือ 525 เส้น สัญญาณที่ออกไปทางเอ้าต์พุตจะเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ต่อเนื่อง (Sequence of Electrical Variation) สัญญาณภาพดังกล่าวจะถูกส่งไปขยายให้แรงขึ้น แล้วนำไปผสมกับซิงโครไนซิ่งพัลซ์ (Synchronizing Pulse)
แล้วทำการผสมสัญญาณทางแอมปลิจูดกับคลื่นพาห์ภาพ (Picture Carrier) เพื่อให้ได้สัญญาณภาพเป็น เอเอ็ม. ส่วนสัญญาณเสียงจะถูกส่งเข้าสู่วงจรขยายสัญญาณก่อนที่จะผสมสัญญาณกับคลื่นพาห์เสียง เพื่อให้ได้สัญญาณเสียงเป็นเอฟเอ็ม.
เครื่องรับโทรทัศน์จะรับสัญญาณจากสายอากาศเข้ามาทั้งภาพและเสียง นำสัญญาณนี้ไปทำการดีเทคเตอร์แยกภาพและเสียงออกไปใช้งาน โดยสัญญาณภาพนั้นจะถูกส่งไปจอหลอดภาพ (CRT) ซึ่งมีส่วนคล้ายหลอดออสซิลโลสโคปที่แก้วข้างหน้าเคลือบฉาบฟลูออเรสเซนต์ไว้ ภายในหลอดจะมีปืนอิเล็กตรอนที่มีการบังคับการบีบลำให้ยิงไปยังหน้าจอ ทำให้สารฟอสเฟอร์เกิดการเรืองแสงขึ้นที่จอ
สัญญาณภาพรวม
หากจะถามว่าเครื่องส่งทำการส่งสัญญาณอะไรมาให้เครื่องรับรับบ้าง หากตอบกันง่าย ๆ ก็ต้องตอบว่า ส่งสัญญาณภาพรวม (Composite Video Signal) ซึ่งการที่เราจะทำให้เครื่องรับโทรทัศน์บรรลุวัตถุประสงค์ได้นั้นต้องให้สถานีโทรทัศน์ส่งสัญญาณต่าง ๆ ดังนี้
1. สัญญาณเสียง
2. สัญญาณภาพ
3. สัญญาณแบลงกิ้ง
4. สัญญาณซิงโครไนซ์
5. สัญญาณอีควอไลซิ่ง
เครื่องรับโทรทัศน์จะรับสัญญาณจากสายอากาศเข้ามาทั้งภาพและเสียง นำสัญญาณนี้ไปทำการดีเทคเตอร์แยกภาพและเสียงออกไปใช้งาน โดยสัญญาณภาพนั้นจะถูกส่งไปจอหลอดภาพ (CRT) ซึ่งมีส่วนคล้ายหลอดออสซิลโลสโคปที่แก้วข้างหน้าเคลือบฉาบฟลูออเรสเซนต์ไว้ ภายในหลอดจะมีปืนอิเล็กตรอนที่มีการบังคับการบีบลำให้ยิงไปยังหน้าจอ ทำให้สารฟอสเฟอร์เกิดการเรืองแสงขึ้นที่จอ
สัญญาณภาพรวม
หากจะถามว่าเครื่องส่งทำการส่งสัญญาณอะไรมาให้เครื่องรับรับบ้าง หากตอบกันง่าย ๆ ก็ต้องตอบว่า ส่งสัญญาณภาพรวม (Composite Video Signal) ซึ่งการที่เราจะทำให้เครื่องรับโทรทัศน์บรรลุวัตถุประสงค์ได้นั้นต้องให้สถานีโทรทัศน์ส่งสัญญาณต่าง ๆ ดังนี้
1. สัญญาณเสียง
2. สัญญาณภาพ
3. สัญญาณแบลงกิ้ง
4. สัญญาณซิงโครไนซ์
5. สัญญาณอีควอไลซิ่ง
ในส่วนของระบบสัญญาณเสียงเราจะใช้คลื่นพาห์ (Carrier) เฉพาะ เพราะทราบกันเบื้องต้นแล้วว่าระบบเสียงในโทรทัศน์เป็นระบบ เอฟเอ็ม. ส่วนสัญญาณภาพและอื่น ๆ ที่เหลือนั้นเราจะส่งเป็นสัญญาณภาพรวมหรือคอมโพสิท วิดีโอ ซิกแนล (Composite Video Signal) แล้วใช้คลื่นพาห์ภาพส่งออกไป การที่เราต้องส่งสัญญาณทั้ง 5 ตัวออกอากาศแพร่คลื่นออกไปเพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้
1. สัญญาณภาพและสัญญาณเสียง เป็นสัญญาณที่ส่งไปเพื่อให้เกิดภาพและเสียงขึ้นในเครื่องรับโทรทัศน์
2. สัญญาณแบลงกิ้ง เป็นสัญญาณที่ส่งเพื่อให้ลบเส้นสะบัดกลับทั้งในแนวตั้งและแนวนอน
3. สัญญาณซิงโครไนซ์ เป็นสัญญาณที่ส่งมาเพื่อช่วยให้วงจรหักเหทางแนวตั้งและวงจรหักเหทางแนวนอน เพื่อให้เครื่องส่งกับเครื่องรับทำงานสอดคล้องตรงกัน
4. สัญญาณอีควอไลซิ่ง เป็นสัญญาณที่ช่วยให้สัญญาณซิงโครไนซ์ทั้งแนวตั้งและแนวนอนยังคงรูปเดิมอยู่ได้ แม้ว่าจะเป็นการสแกนแบบสลับเส้นก็ตาม
1. สัญญาณภาพและสัญญาณเสียง เป็นสัญญาณที่ส่งไปเพื่อให้เกิดภาพและเสียงขึ้นในเครื่องรับโทรทัศน์
2. สัญญาณแบลงกิ้ง เป็นสัญญาณที่ส่งเพื่อให้ลบเส้นสะบัดกลับทั้งในแนวตั้งและแนวนอน
3. สัญญาณซิงโครไนซ์ เป็นสัญญาณที่ส่งมาเพื่อช่วยให้วงจรหักเหทางแนวตั้งและวงจรหักเหทางแนวนอน เพื่อให้เครื่องส่งกับเครื่องรับทำงานสอดคล้องตรงกัน
4. สัญญาณอีควอไลซิ่ง เป็นสัญญาณที่ช่วยให้สัญญาณซิงโครไนซ์ทั้งแนวตั้งและแนวนอนยังคงรูปเดิมอยู่ได้ แม้ว่าจะเป็นการสแกนแบบสลับเส้นก็ตาม
กรุณาเข้ามาชมบล็อกด้วยนะ
ตอบลบส่งบล็อกแล้วค่ะ
ตอบลบ